ก่อนใช้ "น้ำตาเทียม" คุณรู้เรื่องนี้แล้วหรือยัง - Part 1

    ในปัจจุบันพบว่าคนที่มีปัญหาภาวะตาแห้งเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งพฤติกรรมการใช้สายตาที่ทำให้คนส่วนใหญ่เกิดภาวะตาแห้ง คือ การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือหน้าจอโทรศัพท์มือถือเป็นระยะเวลานาน ลักษณะอาการของภาวะตาแห้ง เช่น ความรู้สึกไม่สบายตา คันตา แสบตา ระคายเคืองตา หรือ รู้สึกเหมือนมีทรายอยู่ในตา ซึ่งในปัจจุบัน วิธีรักษาภาวะตาแห้งนั้นทำได้หลายวิธี ทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สายตา หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่อาจทำให้ตาแห้ง การประคบอุ่น หรือปรึกษาจักษุแพทย์ แต่วิธีที่เป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ คงหนีไม่พ้นการใช้น้ำตาเทียม
    ในเมื่อการใช้น้ำตาเทียมต้องสัมผัสกับอวัยวะที่สำคัญอย่างดวงตาของเราโดยตรง ก่อนที่เราจะใช้น้ำตาเทียม เราควรที่จะศึกษา ทำความเข้าใจ เกี่ยวกับประโยชน์และข้อแตกต่างของน้ำตาเทียมแต่ละแบบแต่ละประเภท ให้มากขึ้นกันดีกว่า

    น้ำตาเทียม คือ สารให้ความชุ่มชื้นและหล่อลื่นแก่ดวงตา มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำตาธรรมชาติ ใช้เพื่อบรรเทาอาการระคายเคืองตา ตาแห้ง การใช้น้ำตาเทียม จึงมีประโยชน์ ในกลุ่มคนที่มี ภาวะตาแห้งที่เกิดจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น, ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด, การผ่าตัดรักษาดวงตาบางอย่าง และคนที่อยู่ในบริเวณที่มีอากาศแห้ง มีฝุ่นควัน หรือ มีลมแรง เป็นต้น
หากสังเกตดูข้างกล่องน้ำตาเทียม จะเห็นว่ามีชื่อสารต่างๆมากมาย ซึ่งแยกเป็นส่วนประกอบหลักๆ คือ
1.สารให้ความชุ่มชื่นหล่อลื่นดวงตา
2.สารที่ทำให้น้ำตาเทียมมีคุณสมบัตคล้ายน้ำตาธรรมชาติที่ร่างกายผลิต
3.สารกันเสีย(พบได้ในน้ำตาเทียมบางชนิด)

"เพราะเชื้อโรคนั้นมีอยู่ทุกที่แม้กระทั่งในอากาศ"
    ทุกครั้งที่เราเปิดขวด หรือ สัมผัสบริเวณปากขวดน้ำตาเทียม คือ การเปิดโอกาสให้เชื้อโรคต่างๆเข้าไปปนเปื้อนและเจริญเติบโตอยู่ในขวดน้ำตาเทียมได้ ทำให้อันตรายต่อดวงตาเป็นอย่างมาก หากนำน้ำตาเทียมที่ปนเปื้อนเชื้อโรคมาใช้งาน
เพื่อแก้ปัญหานี้ สารกันเสีย/สารกันบูด จึงถูกนำมาใช้ เพราะสารกันเสียสามารถทำลายและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค จึงช่วยให้น้ำตาเทียมที่เหลือในขวดสะอาด ปราศจากเชื้อและยืดอายุน้ำตาเทียมให้ใช้งานได้นานขึ้น

ดูๆไปแล้วน้ำตาเทียมแบบที่มีการใส่สารกันเสียก็นับเป็นตัวเลือกที่ดี
แล้วทำไมถึงต้องมีน้ำตาเทียมแบบที่ไม่มีการใส่สารกันเสียด้วย?

    แม้สารกันเสียจะถูกคิดค้นและพัฒนาให้มีความปลอดภัยกับดวงตามากขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถกำจัดการระคายเคืองที่ส่งผลต่อเซลล์เยื่อบุกระจกตาออกไปได้ทั้งหมด
ในผู้ใช้บางรายจึงอาจเกิดอาการระคายเคืองต่อเซลล์เยื่อบุกระจกตา เพราะแพ้สารกันเสียที่ผสมอยู่ในน้ำตาเทียม โดยเฉพาะผู้ใส่คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม (Soft Contact Lenes) ไม่ควรใช้น้ำตาเทียมที่มี สารกันเสีย Benzalkonium Chloride หรือเรียกสั้นๆว่า BAK
เพราะ BAK จะถูกดูดซึมเข้าไปในเนื้อคอนแทคเลนส์ ทำให้เซลล์กระจกตาถูกทำลายเนื่องจากสัมผัสกับสารกันเสียนานเกินไป ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง แสบตา ตาแดง น้ำตาไหล
สำหรับคนที่เสี่ยงต่อการแพ้น้ำตาเทียม หรือ มีประวัติการแพ้น้ำตาเทียม การใช้น้ำตาเทียมแบบไม่มีสารกันเสีย จึงเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยกว่า

ในเมื่อน้ำตาเทียมมีหลากหลายแบบ แล้วจะรู้ได้ไงว่าต้องใช้น้ำตาเทียมแบบไหน??
แนะนำให้ยึดหลักง่ายๆ คือ ลักษณะเนื้อผลิตภัณฑ์ และ อาการตาแห้งมาก-น้อยแค่ไหน
1.สารละลาย - เรียกง่ายๆคือ แบบน้ำ เป็นชนิดที่ได้รับความนิยม เนื่องจากใช้ง่าย หลังหยอดไม่ทำให้ตามัวหรือตาพร่า ไม่เหนอะหนะ แต่เพราะเนื้อบางเบากว่า จึงให้ความชุ่มชื้นแก่ตาได้แค่ระยะเวลาสั้นๆ ทำให้ต้องหยอดบ่อย มีทั้งแบบใช้หลายครั้งและแบบใช้ครั้งเดียว เหมาะกับ คนที่ตาแห้งน้อย-ปานกลาง
-แบบใช้หลายครั้ง มักจะพบในรูปแบบขวด มีปริมาณเยอะกว่าแบบใช้ครั้งเดียว
     ส่วนใหญ่มักจะมีอายุการใช้งาน 30 วัน หลังเปิดใช้งานครั้งแรก / บางคนอาจจะเรียกว่า น้ำตาเทียม รายเดือน เพราะมีอายุการใช้งาน 30 วัน คล้ายกับคอนแทคเลนส์
แบบรายเดือน (อายุการใช้งานอาจแตกต่างกันตามผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด) ราคาถูก แต่มีสารกันเสีย
     ราคาถูก แต่มีสารกันเสีย จึงแนะนำว่าไม่ควรใช้เกิน 4 ครั้ง/วัน เพื่อไม่ให้เกิดการแพ้น้ำตาเทียม

เหมาะกับ คนที่ตาแห้งน้อย ไม่ต้องหยอดน้ำตาเทียมบ่อย(ไม่เกิน 4 ครั้ง/วัน)


-แบบใช้ครั้งเดียว มักจะพบในรูปแบบหลอด หรือบางคนอาจจะเรียกว่า แบบกระเปาะ
    ● มีอายุ 12-24 ชั่วโมงหลังเปิดใช้งานครั้งแรก / บางคนอาจจะเรียกว่า น้ำตาเทียม รายวัน เพราะมีอายุการใช้งาน ประมาณ 1 วัน คล้ายกับคอนแทคเลนส์แบบรายวัน(อายุการใช้งานอาจแตกต่างกันตามผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด)
    ● ราคาสูง ไม่มีสารกันเสีย ใช้หยอดได้บ่อยโดยไม่เกิดผลเสียต่อสุขภาพตา
เหมาะกับ คนที่ตาแห้งปานกลาง-มาก, หยอดน้ำตาเทียมบ่อย(มากกว่า 4 ครั้ง/วัน),ใช้น้ำตาเทียมติดต่อกันเป็นเวลานานๆ, ตาระคายเคืองง่าย, เคยมีประวัติแพ้น้ำตาเทียมมาก่อน,ใช้หลังการผ่าตัดดวงตา

2.เจลหรือขี้ผึ้ง - เนื้อหนืด ให้ความชุ่มชื่นมากกว่าแบบน้ำ แต่ทำให้ตามัวลงเล็กน้อยหลังหยอด ต้องรอสักครู่ถึงจะกลับมามองชัดเป็นปกติ
เหมาะกับ คนที่ตาแห้งมาก,ผู้ที่ปิดตาไม่สนิทขณะนอนหลับ และแนะนำให้ใช้ในเวลากลางคืนมากกว่า เพื่อไม่ให้รบกวนการมองเห็น

เมื่อรู้จักและเลือกน้ำตาเทียมได้แล้ว ก็ถึงเวลาหยอดน้ำตาเทียมเข้าตาแล้ว
วิธีใช้น้ำตาเทียมและข้อควรระวังนั้น ติดตามกันต่อในบทความตอนที่2 ได้เลยค่ะ

ผู้เขียน ศูนย์สายตาสว่าง

----------

References

Kierstan Boyd. Lubricating Eye Drops (2018).
Alaina L. Softing Hataye, O.D. Artificial tears: How to select eyedrops for dry eyes (2019).
Kathryn Watson. What to Know About Preservative-Free Eye Drops, Plus Products to Consider (2019).
Malik Y. Kahook, MD, Aurora, Colo. The Pros and Cons of Preservatives (2015).
Are Preservative-Free Eye Drops Better for You? (2019).
Maxine Lipner. A clear-eyed view of preservatives in tears (2014).
Karen Walsh and Lyndon Jones. The use of preservatives in dry eye drops (2019).
นศภ. จิรัชญา เตชะพิริยะกุล. ตาแห้งกับน้ำตาเทียม.
บ้านยาหนึ่ง. น้ำตาเทียมเลือกอย่างไรให้ถูก? (2019).

ดู 22274 ครั้ง

บทความอื่นๆ


9 คำแนะนำ เตรียมตัวตรวจวัดสายตา

หลายๆคนอาจจะกังวลว่าการตัดแว่นอันแรก ต้องทำอย่างไรบ้าง หรือแม้แต่คนที่ใส่แว่นอยู่เป็นประจำ ก็ยังมีความตื่นเต้นเมื่อต้องวัดส...

อ่านต่อ...
ก่อนใช้ "น้ำตาเทียม" คุณรู้เรื่องนี้แล้วหรือยัง - Part 1

    ในปัจจุบันพบว่าคนที่มีปัญหาภาวะตาแห้งเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งพฤติกรรมการใช้สายตาที่ทำให้คนส่วนใหญ...

อ่านต่อ...
ดูแลแว่นอย่างไร ให้ปลอด COVID-19

ในช่วงนี้ ทุกท่านคงกังวลกับ COVID-19 กันไม่ใช่น้อยนอกจากจะใส่หน้ากาก เว้นระยะห่างระหว่างกัน หมั่นล้างมือและทำความสะอาดสิ่งข...

อ่านต่อ...