เลนส์กระจกหายไปไหน ทำไม?เปลี่ยนมาใช้เลนส์พลาสติก

กว่าจะเป็นเลนส์แว่นตาแบบที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้น เลนส์ได้ผ่านการคิดค้น พัฒนามาเรื่อยๆตั้งแต่โบราณ ถ้าไม่นับรวมยุคโรมันที่มีการนำมรกตมาเจียระไนใช้เป็นเลนส์เพื่อดูการต่อสู้ของนักรบในสนามประลองแล้ว วัสดุหลักที่ใช้ในการผลิตเลนส์แว่นตาสมัยก่อน ก็คือ กระจก นั้นเองค่ะ

โดยข้อดีของกระจก คือ

  • เลนส์ใสกว่า
  • ความทนทานสูง เกิดรอยขีดข่วนยาก

แต่มีข้อดีแล้ว ก็ต้องมี ข้อด้อยตามมา นั่นคือ

  • ไม่ทนแรงกระแทก แตกง่าย
  • เลนส์มีน้ำหนักเยอะ ใส่ไม่สบาย

จนมาถึงช่วงปี ..1940 ความพยายามในการหาวัสดุอื่นมาใช้แทนกระจกก็สำเร็จ เมื่อเลนส์พลาสติก ได้ถูกคิดค้นขึ้น

ข้อดีของเลนส์พลาสติก

  • ทนแรงกระแทกได้ดีกว่า แตกยาก
  • เลนส์น้ำหนักเบา

ข้อด้อย

  • ไม่ใสเท่าเลนส์กระจก
  • เกิดรอยขีดข่วนง่าย

แม้จะไม่ใสเท่าเลนส์กระจก แต่เลนส์พลาสติกนั้นทนแรงกระแทกได้ดี แตกยาก จึงปลอดภัยต่อผู้ใส่แว่นกว่ามาก เพราะเลนส์กระจกแค่ตกพื้น ก็มีโอกาสบิ่นและแตกสูงอยู่แล้ว แล้วถ้าเกิดอุบัติเหตุ หรือ เลนส์ได้รับแรงกระแทกจนแตกขณะที่เราใส่แว่นตาอยู่ล่ะ!! แค่สมมุติยังน่ากลัวเลยค่ะ บวกกับน้ำหนักของเลนส์กระจกที่ค่อนข้างเยอะ จึงเป็นปัญหาสำหรับคนที่มีค่าสายตาสูงๆ เพราะแว่นตาจะใส่ไม่สบายและดูไม่สวยงาม เลนส์กระจกจึงถูกลดความนิยมลง ทำให้หายากและราคาแพงกว่า
ต่างจากเลนส์พลาสติกที่พัฒนาไปมาก มีการเคลือบผิวเลนส์(Coating) เพื่อเพิ่มความใสและป้องกันรอยขีดข่วน มีหลายความหนา(Index) ให้เหมาะกับค่าสายตาไม่ว่าจะมากหรือน้อยและใช้ได้กับกรอบทุกประเภท จึงทำให้เลนส์พลาสติกได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน

เมื่อเรารู้คุณสมบัติของเลนส์ทั้งสองชนิดแล้ว แล้วเลนส์ชนิดไหนถึงจะเหมาะกับเรา? มีหลายปัจจัยที่อยากให้พิจารณาประกอบกันค่ะ

ค่าสายตา - หากค่าสายตาเยอะ เลนส์กระจกจะมีน้ำหนักมาก ใส่ไม่สบาย การเลือกใช้เลนส์พลาสติกจะเหมาะกว่า เพราะน้ำหนักเบากว่ามากและสามารถเลือกย่อเลนส์ให้บางลงได้ด้วย

ชนิดกรอบ - เลนส์กระจก เปราะและแตกง่าย จึงจำเป็นต้องใช้กรอบแว่นตาแบบกรอบเต็มเท่านั้น ส่วนเลนส์พลาสติกมีความเหนียวกว่า สามารถใช้ได้กับกรอบทุกประเภท ทั้งกรอบเต็ม กรอบครึ่ง/เซาะร่อง หรือกรอบเจาะ

พฤติกรรมการใช้การดูแลแว่นตา - สำหรับคนที่ไม่ค่อยดูแล ไม่ค่อยล้างแว่น ชอบเช็ดแห้งหรือใช้เสื้อเช็ด เลนส์กระจกจะทนต่อรอยขีดข่วนได้ดีกว่า แต่ รอยขีดข่วน ≠ แรงกระแทก ยังไงก็ต้องระวังเลนส์บิ่น/แตกอยู่ดีนะคะ

กิจวัตรประจำวันหรือกิจกรรมที่ทำ - หากต้องทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวมากๆ เสี่ยงต่อการกระแทก เช่น ออกกำลังกาย เล่นกีฬา ยกของ รวมไปถึงเด็กๆซึ่งเป็นวัยที่กำลังเรียนรู้ การลองทำอะไรใหม่ๆ การเล่นกับเพื่อน กิจกรรมเหล่านี้ล้วนมีความเสี่ยงต่อแรงกระแทกมากกว่าปกติ เลนส์พลาสติกจะปลอดภัยกว่า เนื้อเลนส์เหนียว แตกยาก ซึ่งความปลอดภัยเป็นสิ่งที่อยากให้คำนึงถึงเป็นหลักก่อน เพราะดวงตาของเรามีเพียงคู่เดียวนะคะ

แล้วตอนนี้ คุณใช้เลนส์กระจกหรือพลาสติกอยู่คะ?


ผู้เขียน ศูนย์สายตาสว่าง

----------

References

Glass Vs Plastic Lenses: Which is Right For You? (2012, Feb 28). Fashion Eyewear. 
WHAT YOU NEED TO KNOW ABOUT THE DIFFERENT TYPES OF LENSES. Fix My Glasses.
Bartlett, J. (2021, Jan 12). SHEDDING LIGHT ON GLASS LENSES. Banton Frameworks.
Plastic or glass lenses? (2017, Oct 16). ZEISS
BETH. (2018, Dec 19). GLASS VS. PLASTIC: WHICH LENSE ARE RIGHT FOR YOU? Sunglass Warehouse.
Revant Optics. (2019, Apr 1). Polycarbonate vs Glasses Lenses. Revant.
Heiting, G. (2019, Feb). How to choose the best lenses for your eye glasses. AAV Media
Leonard, S. (2018). Are glass lenses better than plastic lenses in eyeglasses? Quora.
Kivumbi. (2017, Sep 28). Difference Between Plastic and Glass lenses. Difference Between.

Cassidy, T. (2018, Jun 25). Glass or Plastic Lenses? Cassidy Eyecare.

Eyeglass Lens Materials. (2011, Apr 12). Master Eye Associates.
Seltman, W. (2020, Oct 15). Eyeglasses: Tips to Help You Pick the Right Lenses. WebMD
GLASS OR PLASTIC? (2010, Jun 1). Oogarts Derous
A Fascinating Historical Time Line on Lenses. (2015, Sep 3). Windhoek Optics
ดู 13932 ครั้ง

บทความอื่นๆ


9 คำแนะนำ เตรียมตัวตรวจวัดสายตา

หลายๆคนอาจจะกังวลว่าการตัดแว่นอันแรก ต้องทำอย่างไรบ้าง หรือแม้แต่คนที่ใส่แว่นอยู่เป็นประจำ ก็ยังมีความตื่นเต้นเมื่อต้องวัดส...

อ่านต่อ...
ก่อนใช้ "น้ำตาเทียม" คุณรู้เรื่องนี้แล้วหรือยัง - Part 1

    ในปัจจุบันพบว่าคนที่มีปัญหาภาวะตาแห้งเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งพฤติกรรมการใช้สายตาที่ทำให้คนส่วนใหญ...

อ่านต่อ...
ไม่อยากให้ "แว่นพัง" ห้าม !!!

            คงจะดีไม่น้อย หากเราสามารถรักษาแว่นตาให้อยู่กับเราไ...

อ่านต่อ...